...

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบพร้อมเฉลยวิชาภาษาไทย A-NET ปี 52

-->


ข้อสอบพร้อมเฉลยวิชาภาษาไทย A-NET ปี 52




ภาษาไทย


ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 100 ข้อ
1. เสียงควบกล้ำในข้อใดไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาไทย
1) ไมโครกรัม 2) แฟลกซ์
3) ปลาสเตอร์ 4) คลอรีน
2. ข้อใดไม่ใช่สำนวนต่างประเทศ
1) ทหารทำการต่อสู้ในสงครามอีรักอย่างกล้าหาญ
2) ในความเห็นของผมเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข
3) เขาให้การต้อนรับคณะของเราอย่างอบอุ่น
4) เขาถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด
3. ข้อใดมีกริยาเป็นคำประสมทั้งหมด
1) นักเรียนนั่งทำงานที่ห้องกิจกรรมทุกเย็น
2) สินค้าตัวนี้ขายไม่ออกมาหลายเดือนแล้ว
3) วันนี้ฉันไปถึงที่ทำงานตั้งแต่เช้า
4) กิจกรรมครั้งนี้ประธานชมรมออกแรงทำงานมากที่สุด
4. ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
1) เหล็กใน เหล็กกล้า เหล็กเป็นสนิม
2) เหยียบย่าง เหยียบจมูก เหยียบเพื่อน
3) ออกโขน ออกงาน ออกงิ้ว
4) เหยาะแหยะ ยุ่งยาก ยับเยิน
5. คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดมีความหมายว่า “มีความระมัดระวังใน
การใช้จ่าย ไม่ถึงกับตระหนี่”
1) เขาเป็นคนเหนียวแน่นมากใคร ๆ ก็รู้
2) เขารักกันเหนียวแน่นกว่าที่เราคิด
3) เขาเป็นคนเหนียวหนี้มาก
4) ไม่มีใครเหนียวหนืดเท่ากับเขาหรอก
6. ข้อใดเป็นคำสมาสที่ประกอบด้วยคำบาลี, คำสันสกฤต และ
คำสันสกฤต ตามลำดับ
1) โสดาปัตติมรรค 2) โสตทัศนวัสดุ
3) โสดาปัตติผล 4) นายกรัฐมนตรี
7. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ
1) สืบสกุล สืบราชสมบัติ 2) สืบเท้า สืบสาย
3) สืบสันดาน สืบศาสนา 4) สืบค้น สืบทอด
8. ข้อใดเป็นคำยืมจากภาษาบาลีทุกคำ
1) สิริ สุข 2) เกษม ภรรยา
3) รัฐ ราษฎร 4) อารยะ สามัคคี
9. ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ
1) วิบากกรรม อากาศธาตุ จิตรกรรม
2) ทิวทัศน์ คีรีรัฐ จิตบำบัด
3) ชัยภูมิ ผลไม้ คุณาวุฒิ
4) คุณค่า คามวาสี คริสตกาล
10. ข้อใดสะกดผิดทุกคำ
1) งบดุล จะละเม็ด เคี่ยวเข็ญ
2) แค็ตตาล็อก คะยั้นคะยอ เกินดุล
3) กิจจะลักษณะ ขันชะเนาะ ขาดดุล
4) คุ้กกี้ จราจล งูสวัสดิ์
11. ข้อใดอ่านผิด
1) โศกนาฏกรรม อ่านว่า โส – กะ – นาด – ตะ – กรรม
2) สรภัญญะ อ่านว่า สะ – ระ – พัน – ยะ
3) ศิษยานุศิษย์ อ่านว่า สิด – ยา – นุ – สิด
4) ศาสนูปถัมภก อ่านว่า สา – สะ – นู – ปะ – ถำ – พก
12. คำประสมในข้อใดไม่ได้เกิดจากประเพณีแต่งงาน
1) สินสอด 2) สู่ขอ
3) ส่งตัว 4) สามหาบ
13. สำนวนในข้อใดมีความหมายต่างพวก
1) น้ำขึ้นให้รีบตัก – หวังน้ำบ่อหน้า
2) สอนหนังสือสังฆราช - เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
3) ตีวัวกระทบคราด – หุงข้าวประชดหมา
4) หน้าเนื้อใจเสือ - ปากหวานก้นเปรี้ยว
14. คำในข้อใดทุกคำมีทั้งความหมายโดยตรงและความหมาย
เชิงอุปมา
1) ปากร้าย รถด่วน ทางเท้า
2) มือขวา ลายคราม ตั้งแท่น
3) หัวหน้า แม่แรง ก่อตัว
4) เรือเร็ว แม่น้ำ ท่าน้ำ
15. ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทุกพยางค์
1) องค์ประกอบ 2) ค่านิยม
3) ไกวเปล 4)ไทยทำ
16. ข้อใดมีพยางค์ที่ใช้สระประสมมากที่สุด (นับคำซ้ำ)
1) งามสง่าน่าเปรียบด้วย เมรุธร
2) ลอยเลื่อนเคลื่อนขจร สู่เบื้อง
3) สินธุภาคสาคร ไทยประเทศ
4) คือนวนาเวศเยื้อง ยาตรท้องเจ้าพระยา
17. ข้อใดไม่มีพยางค์คำตาย
1) พอประสบพบเห็นเยนเนอรัล
2) ก็ชวนกันขึ้นรถไฟครรไลจร
3) เทียมพาชีสีผ่องทั้งสองคู่
4) ช่างแสนรู้พอสายถือมือขยาย
18. ทุกคำในข้อใดไม่ออกเสียงควบกล้ำ
1) สรวล ปลาต ทราม 2) เคลือบ แคลง คล้อย
3) ครวญ คร่ำ ปลาย 4) เปลี่ยว เปล่า ปราง

19. ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์
“ถ้อยคำบางคำแม้มีความหมายเหมือนกัน แต่ให้
ความรู้สึกไม่เหมือนกัน”
1) 12 พยางค์ 2) 13 พยางค์
3) 14 พยางค์ 4) 15 พยางค์
20. ข้อความต่อไปนี้มีสระเสียงสั้นกี่เสียง (ไม่นับคำซ้ำ)
“การใช้ภาษาให้สามารถสื่อความหมายได้ตามจุดประสงค์
อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมของ
สังคม”
1) 3 เสียง 2) 5 เสียง
3) 12 เสียง 4) 14 เสียง
21. ข้อใดเป็นภาษาแบบแผน
1) หมอรักษาคนไข้ทุกวันไม่เว้นวันหยุด
2) ผู้แทนราษฎรไม่สมควรทุจริตต่อหน้าที่
3) มือกลองซิ่งรถคว่ำกลางถนนหลวง
4) อย่าสนใจเรื่องเล็ก ๆ แค่นี้
22. เพลงหน้าพาทย์ในข้อใดใช้ประกอบการต่อสู้
1) กราวนอก 2) กราวใน
3) พระยาเดิน 4) เชิดฉิ่ง
23. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมาย
1) ดอกไม้สวยสะพรึบสะพรั่งที่สวนหลวง ร. 9
2) ผลุดลุกผลุดนั่งอยู่นั่นแหละจนกว่าลูกจะกลับบ้าน
3) ขายของต้องระมัดระวังค่าใช้จ่าย ไม่ได้กำไรก็ไม่เป็นอะไร
อย่าให้เข้าเนื้อก็พอ
4) ร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือดก็แก้ไขไม่ได้เข้าตำรับตำรา
วัวหายล้อมคอก
24. สำนวนในข้อใดตรงข้ามกับคำสอนที่ว่า “การงานกระทำไป
บ่มิยุ่งและสับสน”
1) ดินพอกหางหมู 2) น้ำขึ้นให้รีบตัก
3) มือใครยาวสาวได้สาวเอา 4) กินแกงร้อน
25. พยัญชนะตัวใดเป็นเสียงหนัก
1) ย ร ล 2) ผ ฝ
3) ศ ษ ส 4) ห ฮ
26. ข้อใดมีวรรณยุกต์ครบห้าเสียง
1) เรียมทนทุกข์แต่เช้า ถึงเย็น
2) มาสู่สุขคืนเข็ญ หม่นไหม้
3) ชายใดจากสมรเป็น ทุกข์เท่า เรียมนา
4) จากคู่วันเดียวได้ ทุกข์ปิ้มปานปี
27. ข้อใดเป็นได้ทั้งกลุ่มคำและประโยค
1) คณะรัฐมนตรีด้านการศึกษา
2) คณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผล
3) คณะกรรมการสมาคมครูผู้ปกครอง
4) คณะผู้บริหารการศึกษาของโรงเรียน
28. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ผิด
1) ทรงดำเนิน 2) เสด็จพระดำเนิน
3) เสด็จพระราชดำเนิน 4) ทรงพระดำเนิน
29. ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) พระบรมเดชานุภาพ 2) พระบรมราโชวาท
3) พระบรมราชานุเคราะห์ 4) พระบรมราชินูปถัมภ์
30. ข้อใดใช้คำลักษณนามถูกต้องทุกคำ
1) เครื่องสูบน้ำ – ตัว งอบ – ลูก ตะกร้า – ใบ
2) ไม้พาย – อัน ยักษ์ – ตน ยันต์ – ผืน
3) หมาก – ทะลาย ทำนบ – แห่ง ทรัมเป็ต – ตัว
4) ฟืน – ดุ้น มหาวิทยาลัย – แห่ง พระราโชวาท – องก์
31. บทสนทนาต่อไปนี้มีประโยคที่แสดงเจตนาถามให้ตอบ
กี่ประโยค
อ๋อง : “เมื่อวานทำไมไม่มาโรงเรียน”
เอม : “ก็ไม่เห็นมีใครบอกนี่ ใครจะไปรู้”
อ๋อง : “หัวหน้าห้องเขียนไว้ที่บอร์ด ไม่ได้อ่านนะซี”
เอม : “แล้วมาวันนี้ยังทันไหม มีอะไรให้ช่วยบ้าง”
1) 1 ประโยค 2) 2 ประโยค
3) 3 ประโยค 4) 4 ประโยค
32. หากท่านต้องกล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสได้รับตำแหน่งเป็น
ประธานนักเรียน เพื่อให้การพูดครั้งนี้ประสบความสำเร็จตาม
จุดมุ่งหมายและเป็นธรรมชาติ ท่านควรเลือกวิธีการพูดแบบใด
1) การพูด โดยฉับพลัน 2) การพูด โดยอาศัยต้นร่าง
3) การพูด โดยวิธีท่องจำ 4) การพูด โดยวิธีอ่านจากร่าง
33. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1) ใครนะทำกับฉันได้ 2) คนที่ดีพระก็คุ้มครอง
3) เธอจะทำหรือไม่ก็ได้ 4) เธอเป็นคนดีทุกคนจึงเกรงใจ
34. ข้อใดเป็นประโยคกริยา
1) เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้กันทั้งนั้น
2) ใคร ๆ ก็รู้เรื่องนี้กันทั้งนั้น
3) เมื่อวันก่อนฉันรู้เรื่องนี้จากเพื่อนเขา
4) มีคนเล่าให้ฉันฟังเมื่อวันก่อน
35. ข้อใดไม่เป็นประโยค
1) วัวหายล้อมคอก 2) ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเซลแล็ก
3) เรียนผูกต้องเรียนแก้ 4) ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
36. ประกาศที่ไม่เป็นทางการจะเน้นเรื่องอะไรเป็นสำคัญ
1) ผู้ประกาศ 2) จุดประสงค์
3) สถานที่ติดต่อ 4) สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
37. การจดข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสือชื่อเอกสารที่อ่าน
เพื่อใช้ในการอ้างอิง โดยจดตรงตามต้นฉบับเดิม และใส่เครื่อง
อัญประกาศกำกับไว้ เรียกว่าอะไร
1) บรรณานุกรม 2) เชิงอรรถ
3) อัญพจน์ 4) เอกสารอ้างอิง
38. จากข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ข้อใดเรียงลำดับเนื้อความ
ได้ถูกต้องเหมาะสม
ก. ชีวิตของผู้อื่นก็ปานกัน
ข. สัตบุรุษเอาตนเข้าไปเทียบดังนี้
ค. ชีวิตของตนเป็นที่รักยิ่งฉันใด
ง. จึงกระทำความเมตตากรุณาในสัตว์มีชีวิตทั่วไป
1) ก. ข. ค. และ ง. 2) ค. ข. ก. และ ง.
3) ข. ง. ค. และ ก. 4) ค. ก. ข. และ ง.
39. ใจความจากข้อ 38 จัดเป็นโวหารประเภทใด
1) เทศนาโวหาร 2) บรรยายโวหาร
3) พรรณนาโวหาร 4) อธิบายโวหาร
40. คำในข้อใดเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างตามลำดับ
“วิทยาการเป็นต้นธาร ……… บังเกิดความรู้ ………
ความสามารถในอันที่จะประกอบกิจตามหน้าที่ได้ดี ความเจริญ
งอกงาม …………. ทางจิตใจและวัตถุสืบเนื่องมา วิทยาการ
บ้านเมืองจะเจริญ ………. เสื่อมก็เนื่องด้วยวิทยาการ”
1) ให้, รวมทั้ง, ทั้ง, และ 2) จน, รวมทั้ง, ทั้ง, หรือ
3) ให้, และ, ทั้ง, หรือ 4) จน, และ, ทั้ง, หรือ
41. ประโยคใดมีความหมายต่างกับประโยคอื่น
1) เขาเรียนดีเหมือนเรา
2) เขาเรียนดีไม่มากไปกว่าเรา
3) ทั้งเรากับเขาเรียนดีเท่าๆ กัน
4) เขาเรียนดีน้อยกว่าเรามาก
42. “คนดีแก้ไข คนจัญไรแก้ตัว” เป็นคำสอนที่ให้ข้อคิดเกี่ยว
กับเรื่องใด
1) รับผิดเมื่อทำพลาดพลั้ง 2) เมื่อทำผิดแล้วพยายามแก้ตัว
3) รู้จักให้อภัยเมื่อทำผิด 4) เมื่อทำผิดแล้วอย่าทำซ้ำอีก
43. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกันทุกคำ
1) ทรวดทรง ซาบซ่าน ซ่อนเร้น
2) ถุงเท้า เฒ่าธง ฐานทัพ
3) อยู่เย็น ยากแท้ เยิ่นเย้อ
4) หวั่นหวาด ท้อแท้ ครื้นเครง
44. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของภาษาไทยเด่นชัดที่สุด
1) เป็นภาษาที่ยึดกฎของไวยากรณ์อย่างเคร่งครัด
2) มีลักษณนามบอกจำนวนนับ
3) มีรูปวรรณยุกต์ ถ้ารูปวรรณยุกต์เปลี่ยนแปลงเสียง
และความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย
4) มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามอิทธิพลของ
สิ่งแวดล้อม
45. ข้อใดมีประโยคย่อยตามคำนาม
1) ถึงจะแพงสักเท่าไรฉันก็จะซื้อ
2) นิดกำลังจะนอนอยู่ทีเดียว
3) เราหวงแหนแผ่นดินไทยของเรา
4) อุปสรรคที่เราทั้งหลายไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ
46. น้ำเสียงของผู้พูดข้อใดสื่อความหมายเชิงรำคาญมากที่สุด
1) ลูกอย่ามัวชักช้าซิ เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย
2) ลูกอย่ามัวชักช้าน่ะ เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย
3) ลูกอย่ามัวชักช้าน่า เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย
4) ลูกอย่ามัวชักช้านะ เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 47 – 50
“ความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ตั้งใจจะทำกิจการซึ่งได้รับ
มอบหมาย ให้เป็นหน้าที่ของตนนั้น โดยซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความ
อุตสาหะวิริยภาพเต็มสติกำลังของตน ด้วยความมุ่งหมายให้กิจการ
นั้น ๆ บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่จะพึงมี
หนทางจัดไปได้”
47. ข้อความนี้เป็นการอธิบายด้วยวิธีการใด
1) อธิบายตามลำดับขั้น
2) นิยาม
3) กล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำแปลกออกไป
4) ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
48. ข้อความนี้จัดเป็นโวหารประเภทใด
1) บรรยายโวหาร 2) พรรณนาโวหาร
3) อธิบายโวหาร 4) เทศนาโวหาร
49. ข้อความนี้มีคำประสมกี่คำ (ไม่นับคำซ้ำ)
1) 5 คำ 2) 6 คำ
3) 7 คำ 4) 8 คำ
50. ข้อความนี้แสดงคุณค่าด้านสังคมด้านใด
1) จริยธรรม 2) ขนบธรรมเนียม
3) ชีวิตความเป็นอยู่ 4) ค่านิยมด้านวัฒนธรรม
51. ข้อใดไม่ใช่แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการบรรยาย
และการพรรณนา
1) อ่านมาก ฟังมาก 2) จดบันทึก
3) ช่างสังเกต 4) ฝึกท่องจำจากตัวอย่าง
52. คำในข้อใดที่ใช้หลักการอ่านเช่นเดียวกับ “สมาทาน”
1) สมร สถิต 2) สยมภู สถานภาพ
3) สมรรถนะ สมิทธิ 4) สมาน สมุทร
53. ข้อใดอ่านออกเสียงตามแบบอักษรนำ
1) ปรัมปรา 2) ปราชัย
3) ปริญญา 4) ปริตร
54. คำเติมในข้อใดแสดงลักษณะของคำต้น
1) นาเกลือ รถประจำทาง สวนหิน
2) น้ำจืด เรือด่วน ปลาเค็ม
3) บ้านรับรอง ผ้าต่วน ไม้แขวนเสื้อ
4) หมอความ ชาววัง ช่างเสื้อ

55. ข้อใดเป็นคำซ้ำ
1) นั่งเป็นที่ที่ไปนะ จะได้ไม่สับสน
2) สถานที่ที่น่าเที่ยวแห่งหนึ่ง คือ ภูกระดึง
3) ที่ที่ฉันพักไกลจากถนนมาก
4) ฉันไปที่ที่ฉันซื้อไว้
56. ข้อใดมิใช่การบรรยาย
1) ครรโลงโลกนิตินี้ นมนาน
มีแต่โบราณกาล เก่าพร้อง
2) มือด้วนคิดจะมล้าง เขาหมาย
ปากด้วนถ่มน้ำลาย เลียบฟ้า
3) เสือผอมกวางวิ่งเข้า โจมขวิด
ไปว่าเสือมีฤทธิ์ เลิศล้ำ
4) เจ้าอย่าย้ายคิ้วให้ เรียมเหงา
ดูดุจนายพรานเขา ล่อเนื้อ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 57 – 60
“มีความจริงที่ไม่น่าเชื่อ แต่ควรเชื่ออย่างยิ่ง คือ ถูกเขาฆ่า
ดีกว่าฆ่าเขา ทำนองเดียวกับถูกเขาด่าว่าอย่างหยาบคาย ดีกว่าเป็นผู้
ด่าว่าเขาอย่างหยาบคาย หรือเป็นผู้ถูกเขาขโมยดีกว่าเป็นผู้ขโมย
เขา อีกนัยหนึ่งก็คือ คนอื่นไม่ดีก็เป็นความไม่ดีของเขา เราอย่าไม่ดี
จะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า ควรจำอย่าง
ยิ่ง”
57. ข้อความที่ยกมานี้ใช้โวหารใด
1) บรรยายโวหาร 2) พรรณนาโวหาร
3) เทศนาโวหาร 4) อธิบายโวหาร
58. “เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะ
ดีกว่า” ผู้เขียนใช้การซ้ำประโยคเพื่อประโยชน์ในข้อใด
1) ย้ำให้เกิดความเข้าใจ 2) บอกให้ทำ
3) เกิดความงามของภาษา 4) เล่นสำนวน
59. ข้อใดคือสาระสำคัญของข้อความนี้
1) เป็นผู้ฆ่าย่อมดีกว่าเป็นผู้ถูกฆ่า
2) เป็นผู้ถูกขโมยย่อมดีกว่าเป็นผู้ขโมย เพราะไม่ได้สร้าง
ความเดือดร้อน
3) อย่าเป็นคนไม่ดีเหมือนคนอื่น จงเป็นคนดี
4) การทำกรรมต่อผู้อื่นเป็นความผิดอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น
กายกรรมหรือวจีกรรม
60. ข้อใดคือเจตนาของผู้เขียน
1) เตือนให้รู้จักระงับอารมณ์ 2) ปรามมิให้กระทำความชั่ว
3) โน้มน้าวให้ทำความดี 4) สอนไม่ให้ผูกพยาบาท
61. คำขวัญในข้อใดมีการแสดงเหตุผล
1) น้ำประปาดื่มได้ใสสะอาดปราศจากเชื้อโรค
2) ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ
3) ล้อมรั้วด้วยรัก ให้ประจักษ์ไออุ่น จึงจะเป็นทุนเกื้อหนุน
เด็กไทย
4) ถ้าทิ้งขยะไม่ลงถังก็อย่าหวังเรื่องความสะอาด
62. ข้อใดแสดงน้ำเสียงชื่นชมได้ชัดเจนที่สุด
1) แน่ละ เขาทำได้ดีกว่าที่เราคาด
2) ดีที่สุดแล้วตั้งแต่เขาสู้มา ผมทึ่งมาก
3) ผมพอใจที่เขาตั้งใจต่อสู้จนถึงที่สุด
4) ไม่น่าเชื่อเลย เขาทำได้จริงๆ สมกับที่รอคอย ดีใจมากๆ
63. คำคู่ใดออกเสียงสระเหมือนกัน
1) เท้า ข้าว 2) ทอง น่อง
3) ท่อง น้อง 4) คลอง กล่อง
64. ข้อใดใช้ภาษาระดับทางการ
1) ใคร ๆ ก็รู้ว่ารางวัลนี้เหมาะสมกับเขาที่สุด
2) รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาระดับอนุบาลเพิ่มขึ้น
3) เขาทุ่มเทกำลังกายกำลังใจเพื่องานวิจัยชิ้นนี้
4) ไม่ว่าชาวเขา ชาวไทยมุสลิม ทั้งหมดล้วนเป็นคนไทยทั้งสิ้น
65. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1) ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
2) น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
3) เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
4) ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย
66. ตัวเลือกในข้อ 65 ข้อใดเป็นประโยคความรวมเหตุผล
1) ข้อ 1) 2) ข้อ 2)
3) ข้อ 3) 4) ข้อ 4)
67. ข้อใดมีคำที่มีความหมายกว้าง
1) เขาพูดเสมอว่าเขาจะตั้งใจเรียนเพื่อให้คะแนนดีขึ้น
2) ข้อสอบแต่ละปียากขึ้นเสมอ
3) ความพยายามเป็นหนทางให้เกิดความสำเร็จ
4) เครื่องครัวรุ่นใหม่ได้ออกวางจำหน่วยตั้งแต่สัปดาห์ก่อน
68. “การขาดแคลนอาหารสำหรับบริโภค ซึ่งอาจเป็นเพราะ
อาหารมีไม่เพียงพอหรือเพราะขาดเงินที่จะซื้ออาหาร
มาบริโภค” ข้อความนี้เป็นการอธิบายแบบใด
1) การอธิบายจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
2) การอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์
3) การอธิบายด้วยการกล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำแปลกออกไป
4) การอธิบายตามลำดับขั้นและการให้ตัวอย่าง
69. จากข้อความในข้อ 68 ข้อใดเป็นคำเชื่อม
1) สำหรับ หรือ ที่จะ
2) ซึ่ง เพราะ หรือ ที่
3) สำหรับ อาจ หรือ ที่จะ
4) เพราะ หรือ จะ มา
70. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาความคิดคืออะไร
1) ภาษา 2) ความรู้ความสามารถ
3) การเรียนรู้ 4) แหล่งความรู้

71. การประเมินค่าโดยไม่อาศัยเกณฑ์ เราจะประเมินด้วยวิธีใด
1) การสอบถาม
2) การสุ่มตัวอย่าง
3) การสนทนาแบบไม่เป็นทางการ
4) การเปรียบเทียบ
72. สำนวนไทยในข้อใดใช้ภาษาสัญลักษณ์
1) รักพี่เสียดายน้อง 2) ใจเร็วด่วนได้
3) เห็นกงจักรเป็นดอกบัว 4) กินแกงร้อน
73. จ่าง แซ่ตั้ง ให้ความเห็นว่า “ฉันทลักษณ์ คือ ความพอใจที่เรียบ
เรียงถ้อยคำ เหมือนร้อยพวงมาลัย ต้องรู้จักเลือก
ดอกไม้มาร้อย” ข้อความนี้มีความหมายตรงกับข้อใด
1) การแต่งคำประพันธ์ให้ได้รสไพเราะต้องรู้จักสรรคำและ
ต้องมีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา
2) การแต่งคำประพันธ์คือความพอใจที่จะแต่ง
3) การแต่งคำประพันธ์ต้องยึดฉันทลักษณ์เป็นหลัก
4) การแต่งคำประพันธ์ต้องมีรสวรรณคดีครบถ้วน
74. คำประพันธ์ข้อใดสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทย
1) สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
2) เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
3) เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
4) งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย
งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล
75. จากข้อ 74 คำประพันธ์ข้อใดกล่าวถึงนาฏกรรมและสังคีตศิลป์
1) ข้อ 1) 2) ข้อ 2)
3) ข้อ 3) 4) ข้อ 4)
อ่านคำประพันธ์แล้วตอบคำถามข้อ 76 – 77
“อันตึกงามสนามกว้างสร้างขึ้นได้ มีเงินหยิบโยนให้
ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัย”
76. สาระสำคัญของคำประพันธ์บทนี้ตรงกับข้อใด
1) การพัฒนาคน พัฒนาความคิด
2) จิตใจงาม ย่อมดีกว่าตึกงาม
3) คุณธรรมสร้างยากกว่าวัตถุธรรม
4) วัตถุธรรมสร้างยากกว่าคุณธรรม
77. คำประพันธ์บทนี้มีอักษรควบกี่คำ (นับคำซ้ำ)
1) 4 คำ 2) 5 คำ
3) 6 คำ 4) 7 คำ
อ่านข้อความแล้วตอบคำถามตั้งแต่ข้อ 78 – 80
“ปฏิทินที่ใช้สำหรับดูวัน เดือน ปี ไม่ว่าจะเป็นปฏิทิน
แผ่น ปฏิทินแขวน ปฏิทินตั้งโต๊ะ ในการนับคำนวณมีทั้งแบบ
จันทรคติ ตามแบบโบราณคือ การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
ระบุรายละเอียดข้างขึ้น ข้างแรม และการนับแบบสุริยคติ ตาม
ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ บอก วัน เดือน ปีศักราช”
78. ข้อใดสรุปไม่ได้จากข้อความข้างต้น
1) ปฏิทินมีไว้สำหรับใช้ดู วัน เดือน ปี
2) ปฏิทินมีทั้งแบบแผ่น แขวน และตั้งโต๊ะ
3) การนับคำนวณจะใช้วัน เดือน ปี ตามระบบสุริยคติ เท่านั้น
4) การนับแบบสุริยคติจะคำนวณตามระยะเวลาที่โลกหมุน
รอบดวงอาทิตย์
79. ข้อความนี้เป็นสารที่พัฒนาทางด้านใด
1) ความรู้ 2) อารมณ์
3) คุณธรรม 4) การคิดวิเคราะห์
80. ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความนี้จัดอยู่ในระดับใด
1) พิธีการ 2) ทางการ
3) ไม่เป็นทางการ 4) กันเอง
อ่านข้อความแล้วตอบคำถามตั้งแต่ข้อ 81 – 84
“ประเทศไทยเป็นเมือง “คณะกรรมการ” แท้จริง ฝรั่ง
หลายคนถึงกับบ่นว่าถ้าเมืองไทยขาด “คณะกรรมการ” แล้ว ก็
เห็นจะทำงานอะไรกันไม่ได้ เมืองไทยจึงเป็นเมืองแห่ง
“คณะกรรมการ” มีในทุกแห่ง ตั้งแต่งานโตอย่างการสร้างไฟฟ้า
ปรมาณู ลงมาจนถึงงานเล็ก ๆ เช่น การสร้างศาลเจ้า”
81. ผู้เขียนมีเจตนาใดในการเขียน
1) เย้าแหย่ 2) ล้อเลียน
3) ประชด 4) ตักเตือน
82. ข้อความนี้เข้าลักษณะใด
1) ข้อเท็จจริง 2) ข้อโต้แย้ง
3) ข้อความจรรโลงใจ 4) ข้อคิดเห็น
83. ผู้เขียนแสดงความรู้สึกอย่างไร
1) แปลกใจ 2) สงสัย
3) รำคาญใจ 4) เบื่อหน่าย
84. ลักษณะการทำงานตามข้อสังเกตของผู้เขียน น่าจะตรง
กับสำนวนไทยในข้อใด
1) กินแกงร้อน 2) หัวหมอ
3) ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น 4) มากหมอก็มากความ
อ่านข้อความนี้แล้วตอบคำถามตั้งแต่ข้อ 85 - 90
“ธรรมดารถซึ่งขับเร็วไปในถนนซึ่งมีโคลน โคลนนี้ย่อม
กระเด็นเปรอะเปื้อนรถเป็นธรรมดา และบางทีก็เป็นอันตรายได้
โดยเหตุที่ม้าพลาดหรือล้มลง แต่ล้อแห่งรถนั้นในเวลาถึงที่หยุด
แล้วจะมีโคลนก้อนใหญ่ ๆ ติดอยู่ก็หาไม่ เพราะว่าโคลนซึ่งติดล้อ
ในระหว่างที่เดินทางนั้นได้หลุดกระเด็นไปเสียแล้ว ด้วยอำนาจ
ความเร็วแห่งรถนั้น ส่วนรถที่ขับขี่ช้า ๆ ไปในถนนซึ่งมีโคลนทาง
เดียวกัน ย่อมไม่สู้จะเปรอะเปื้อนหรือเป็นอันตรายด้วยเหตุที่ม้า
พลาดหรือล้มนั้นจริง แต่ล้อแห่งรถนั้นย่อมเต็มไปด้วยโคลนอัน
ใหญ่และเหนียวเตอะตัง ซึ่งนอกจากแลดูไม่เป็นที่จำเริญตาแล้ว
ยังสามารถเป็นเครื่องกีดขวางและทำให้ล้อเคลื่อนช้าลงได้ฯลฯ
เราทั้งหลายควรลืมตาของเรา และพิจารณาดูก้อนโคลน
ต่าง ๆ ซึ่งติดอยู่กับล้อแห่งความเจริญของชาติเรา เราจะเห็นได้ว่า
โคลนเหล่านี้บางก้อนได้ติดมานานแล้ว และเป็นการลำบากที่จะ
เปลื้องออกให้เกลี้ยงได้ในคราวเดียว แต่ถ้าประกอบด้วยวิริยภาพ
และความบากบั่น เราก็สามารถที่จะชำระโคลนนั้นออกได้หมด
ในเวลาอันควรเหมือนกัน”
(บทพระราชนิพนธ์ โคลนติดล้อใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
85. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของผู้เขียน
1) ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ
2) ชี้ให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาประเทศ
3) ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของประเทศด้อยพัฒนา
4) ชี้ให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมต่างประเทศ
86. สาระสำคัญของเรื่องคืออะไร
1) รถที่แล่นไปอย่างรวดเร็ว โคลนย่อมติดล้อได้ยาก
2) โคลนเป็นเครื่องกีดขวางและทำให้ล้อเคลื่อนช้าลง
3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประเทศต้องได้รับ
การแก้ไขทันที
4) ชาติที่พัฒนาแล้วเป็นตัวอย่างอันดีที่สามารถลอกเลียน
แบบได้
87. ข้อใดไม่ใช่ภาษาสัญลักษณ์
1) ล้อ 2) รถ
3) โคลน 4) ความบากบั่น
88. ข้อความนี้เข้าลักษณะการเขียนแบบใด
1) บรรยายโวหาร 2) พรรณนาโวหาร
3) อภิปรายโวหาร 4) อุปมาโวหาร
89. ข้อความนี้ใช้ภาษาระดับใด
1) ทางการ 2) ไม่เป็นทางการ
3) สนทนา 4) กันเอง
90. บทความเรื่องนี้เข้าลักษณะใด
1) บทปลุกใจ 2) บทวิเคราะห์
3) บทวิจารณ์ 4) บทสารคดี
อ่านคำประพันธ์แล้วตอบคำถามตั้งแต่ข้อ 91 –94
“แม่สอนให้ลูกรู้ ระวังตน
แม่ฝึกให้ลูกทน ทุกข์ได้
ลูกจึงหยัดยืนจน จวบบัด - นี้นา
หยาดเหงื่อแม่แน่ไซร้ หล่อเลี้ยงลูกมา”
91. คำประพันธ์นี้ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1) บาทที่ 3, 4 เป็นส่วนเหตุผล
บาทที่ 1, 2 เป็นส่วนสรุป
2) บาทที่ 1, 2 เป็นส่วนเหตุผล
บาทที่ 3, 4 เป็นส่วนสรุป
3) บาทที่ 1, 3 เป็นส่วนเหตุผล
บาทที่ 2, 4 เป็นส่วนสรุป
4) บาทที่ 2, 4 เป็นส่วนเหตุผล
บาทที่ 1, 3 เป็นส่วนสรุป
92. คำประพันธ์นี้มีคำตายทั้งหมดกี่พยางค์
1) 8 พยางค์ 2) 9 พยางค์ 3) 10 พยางค์ 4) 11 พยางค์
93. คำประพันธ์นี้มีอักษรนำกี่พยางค์
1) 2 พยางค์ 2) 3 พยางค์ 3) 4 พยางค์ 4) 5 พยางค์
94. สาระสำคัญของคำประพันธ์นี้ จัดเป็นสารประเภทใด
1) ข้อเท็จจริง 2) ข้อคิดเห็น
3) ข้อความแสดงอารมณ์ 4) ข้อความจรรโลงใจ
95. “ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ก็ร่วมรับเคราะห์ไปกับเขาด้วย”
ตรงกับสำนวนว่าอะไร
1) พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก 2) พลอยฟ้าพลอยฝน
3) พลัดที่นาคาที่อยู่ 4) พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้
96. สำนวนในข้อใดมีความหมายต่างพวก
1) เล่นตา 2) เล่นหูเล่นตา
3) เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ 4) เล่นเพลงยาว
97. “ฉันยอมทำตามข้อเสนอของคุณทุกประการ เพราะเท่าที่ผ่านมา
คุณไม่เคยเสนออะไรที่ผิดพลาดมาก่อน”
ประโยคใดมีใจความตรงกับข้อความข้างต้น
1) เท่าที่ผ่านมาคุณไม่เคยเสนออะไรที่ผิดพลาด ฉันจึงยอม
ทำตามข้อเสนอของคุณทุกประการ
2) ฉันยอมทำตามข้อเสนอของคุณ เพราะคุณมีข้อเสนอที่ดี
ทุกครั้ง
3) ฉันจะไม่ยอมทำตามข้อเสนอของคุณ ถ้าขอเสนอนั้นอาจ
ผิดพลาด
4) ขอเสนอของคุณถูกต้องทุกครั้ง ดังนั้นฉันคิดว่าไม่มีอะไร
ที่น่าจะผิดพลาด
98. “แลสูงก็แสงศศิสว่าง พิศพ่างพิมานแมน แลโลกก็ล้วน
สมุทรแดน ขจิจดอุไรชล แสงโสมสมานสลิลแนบ
วิจิแวบวะวับวน พร่างพรายประกายอุทกผล ดุจเยื่อ-
ลำยองทอง”
1) กาพย์ 2) กลอน 3) โคลง 4) ฉันท์
99. คำประพันธ์นี้ใช้ลีลาใดในการแต่ง
1) เสาวรจนีย์ 2) นารีปราโมทย์
3) พิโรธวาทัง 4) สัลลาปังคพิสัย
100. “ช้าก่อน! หล่อนจะไปไหนหม่อมฉันอยู่ไปก็เครื่องแต่
ทรงรำคาญใครหนอบอกแก่นงคราญว่าพี่รำคาญหม่อม
ฉันสังเกตเองเห็น” ข้อความนี้ถ้าจัดแบ่งวรรคถูกต้อง จัดเป็น
คำประพันธ์ประเภทใด
1) กาพย์ยานี 2) กาพย์ฉบัง
3) กาพย์สุรางคนางค์ 4) กลอนสุภาพ

เฉลย 01 ภาษาไทย
1.เฉลย 2) แฟลกซ์
1) “คร” มีหน่วยเสียงในภาษาไทย เช่น โครมคราม
3) “ปล” มีหน่วยเสียงในภาษาไทย เช่น ปลา
4) “คล” มีหน่วยเสียงในภาษาไทย เช่น คลาย
2.เฉลย 4) เขาถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด
1) ทำการต่อสู้ เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ
2) ในความเห็น เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ
3) ให้การต้อนรับ เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ
3.เฉลย 4) กิจกรรมครั้งนี้ประธานชมรมออกแรงทำงานมากที่สุด
มีคำประสมที่เป็นกิริยา 2 คำ คือ ออกแรง และทำงาน
1) มี 1 คำ คือทำงาน
2) และ 3) ไม่มี
4.เฉลย 3) ออกโขน ออกงาน ออกงิ้ว เป็นคำประสม
1) เหล็กเป็นสนิม เป็นประโยค
2) เหยียบเพื่อน เป็นประโยค
4) เหยาะแหยะ ยุ่งยาก ยับเยิน เป็นคำซ้อน
5.เฉลย 1) เขาเป็นคนเหนียวแน่นมากใคร ๆ ก็รู้
2) เขารักกันเหนียวแน่นกว่าที่เราคิด หมายถึง แน่น
แฟ้น
3) เขาเป็นคนเหนียวหนี้มาก หมายถึง ไม่ยอมใช้
หนี้ง่าย ๆ
4) ไม่มีใครเหนียวหนืดเท่ากับเขาหรอก หมายถึง
คนที่ตระหนี่ถี่เหนียวมาก
6.เฉลย 2) โสตทัศนวัสดุ (โสต – บาลี ทัศน – สันสกฤต
วัสดุ – สันสกฤต)
1) โสดาปัตติมรรค (บาลี บาลี สันสกฤต)
3) โสดาปัตติผล (บาลี บาลี บาลี)
4) นายกรัฐมนตรี (บาลี บาลี สันสกฤต)
7.เฉลย 4) สืบค้น สืบทอด เป็นคำซ้อนเพื่อความหมาย
1) สืบสกุล สืบราชสมบัติ เป็นคำประสม
2) สืบเท้า สืบสาย เป็นคำประสม
3) สืบสันดาน สืบศาสนา เป็นคำประสม
8.เฉลย 1) สิริ สุข เป็นคำยืมจากภาษาบาลี
2) เกษม ภรรยา เป็นภาษาสันสกฤต
3) รัฐ เป็นภาษาบาลี ราษฎร เป็นภาษาสันสกฤต
4) อารยะ เป็นภาษาสันสกฤต สามัคคี เป็นภาษา
บาลี
9.เฉลย 1) วิบากกรรม อากาศธาตุ จิตรกรรม เป็นคำสมาส
ทุกคำ
2) ทิวทัศน์ จิตบำบัด เป็นคำประสม
คีรีรัฐ เป็นคำสมาส
3) ชัยภูมิ คุณวุฒิ เป็นคำสมาส
ผลไม้ เป็นคำประสม
4) คุณค่า คริสตกาล เป็นคำประสม
คามวาสี เป็นคำสมาส
10.เฉลย 4) คุ้กกี้ จราจล งูสวัสดิ์ สะกดผิด ที่ถูกต้อง
คือ คุกกี้ จลาจล งูสวัด
11.เฉลย 3) ศิษยานุศิษย์ อ่านถูกต้องว่า สิด – สะ – ยา – นุ – สิด
12.เฉลย 4) สามหาบ เกิดจากประเพณีงานศพ หมายถึง เรียก
อาหารคาว 1 หาบ อาหารหวาน 1 หาบ และ
เครื่องหุงต้ม 1 หาบ
ที่เจ้าภาพหาบเดินรอบเมรุแล้วถวายพระสงฆ์เวลา
เก็บอัฐิ
1) สินสอด หมายถึง เงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา
ฝ่ายหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่าน้ำนม
2) สู่ขอ หมายถึง เจรจาของผู้หญิงจากพ่อแม่หรือ
ผู้ปกครองเพื่อการแต่งงาน
3) ส่งตัว หมายถึง นำตัวเจ้าสาวไปส่งให้แก่เจ้าบ่าว
ตามฤกษ์
13.เฉลย 1) น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง ไม่ทิ้งโอกาสที่ควรจะได้
หวังน้ำบ่อหน้า หมายถึง หวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
2) สอนหนังสือสังฆราช เอามะพร้าวห้าวไปขาย
สวน หมายถึง บอกสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้วให้แก่เขา
3) ตีวัวกระทบคราด หุงข้าวประชดหมา หมายถึง
ทำประชดหรือแดกดันซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์
1) หน้าเนื้อใจเสือ หมายถึง มีหน้าตาแสดงความ
เมตตาแต่ใจเหี้ยมโหด
ปากหวานก้นเปรี้ยว หมายถึง พูดจาอ่อนหวานแต่
ไม่จริงใจ
14.เฉลย 2) มือขวา ลายคราม ตั้งแท่น มีความหมายเชิงอุปมา
มือขวา หมายถึง ที่ใกล้ชิด ที่เก่งกล้าสามารถ
ที่ไว้วางใจได้
ลายคราม หมายถึง เก่า โบราณ ของเก่าที่มีค่า
ตั้งแท่น หมายถึง ดำรงตำแหน่ง ยกฐานะ
15.เฉลย 4) ไทยทำ เป็นพยางค์ปิด ทัย – ทำ
1) องค์ประกอบ = อง – ประ – กอบ
2) ค่านิยม = ค่า – นิ – ยม
3) ไกวเปล = กวัย – เปล
16.เฉลย 2) ลอยเลื่อนเคลื่อนขจร สู่เบื้อง
มีสระประสม 3 คำ ได้แก่ เลื่อน เคลื่อน เบื้อง
1) เปรียบ เป็นสระประสม
3) ไม่มีสระประสม
4) เยื้อง เป็นสระประสม

17.เฉลย 3) เทียมพาชีสีผ่องทั้งสองคู่ ไม่มีคำตาย
1) ประ – สบ – พบ เป็นคำตาย
2) ก็ – รถ เป็นคำตาย
4) ขยาย (ขะ) เป็นคำตาย
18. เฉลย 1) สรวล ปลาต ทราม ไม่ออกเสียงควบกล้ำ
2) 3) และ 4) ทุกคำออกเสียงควบกล้ำ
19. เฉลย 3) 14 พยางค์ ได้แก่ ถ้อย คำ บาง คำ ความ
หมาย เหมือน กัน ให้ ความ สึก ไม่ เหมือน กัน
20.เฉลย 1) 3 เสียง ได้แก่ อะ อุ อิ
21.เฉลย 2) ผู้แทนราษฎรไม่สมควรทุจริตต่อหน้าที่ เป็นภาษา
แบบแผน
1) หมอ เป็นภาษาระดับสนทนา
3) มือกลองซิ่งรถ เป็นภาษาระดับสนทนา
4) เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เป็นภาษาระดับสนทนา
22.เฉลย 4) เชิดฉิ่ง ใช้ประกอบการต่อสู้
1) กราวนอก ใช้ประกอบการยกทัพ
2) กราวใน ใช้ประกอบการยกทัพ
3) พระยาเดิน ใช้ประกอบกริยาไปมา
23.เฉลย 3) ขายของต้องระมัดระวังค่าใช้จ่าย ไม่ได้กำไรก็ไม่
เป็นอะไรอย่าให้เข้าเนื้อก็พอ
1) ดอกไม้สวยบานสะพรึบสะพรั่ง
2) ผุดลุกผุดนั่ง
4) เข้าตำราวัวหายล้อมคอก
24.เฉลย 1) ดินพอกหางหมู หมายถึง คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
2) น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึงโอกาสดีควรรีบทำ
1) มือใครยาวสาวได้สาวเอา หมายถึง โอกาสมา
ถึงต้องรีบคว้าไว้ก่อน
4) กินแกงร้อน หมายถึง ทำงานโดยไม่เตรียมการ
ไว้ก่อน
25.เฉลย 4) ห ฮ เป็นพยัญชนะเสียงหนักไว้เลียนเสียงอุทาน
26.เฉลย 3) ชายใดจากสมรเป็น ทุกข์เท่า เรียมนา
(สามัญ – สามัญ – เอก – เอก – จัตวา – สามัญ – ตรี
– โท – สามัญ – สามัญ )
1) เรียมทนทุกข์แต่เช้า ถึงเย็น
(สามัญ – สามัญ – ตรี – เอก –ตรี–จัตวา–สามัญ)
2) มาสู่สุขคืนเข็ญ หม่นไหม้
(สามัญ – เอก – เอก –สามัญ –จัตวา –เอก–โท )
4) จากคู่วันเดียวได้ ทุกข์ปิ้มปานปี
(เอก – โท – สามัญ – สามัญ – โท – ตรี – โท
– สามัญ – สามัญ )
27.เฉลย 2) คณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผล เป็นได้
ทั้งกลุ่มคำและประโยค
1) 3) และ 4) เป็นกลุ่มคำ
28.เฉลย 2) เสด็จพระดำเนิน ที่ถูกคือ ทรงพระดำเนิน
29.เฉลย 4) พระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นคำราชาศัพท์เฉพาะ
สมเด็จพระราชินี
30.เฉลย 1) เครื่องสูบน้ำ – เครื่อง , ตัว งอบ – ลูก , ใบ
ตะกร้า – ลูก ,ใบ
2) ไม้พาย – เล่ม ยันต์ – ยันต์
3) หมาก – ทะลาย ทำนบ – ทำนบ
4) มหาวิทยาลัย – มหาวิทยาลัย พระราโชวาท – องค์
31.เฉลย 3) 3 ประโยค
1) เมื่อวานทำไมไม่มาโรงเรียน
2) แล้วมาวันนี้ยังทันไหม
3) มีอะไรให้ช่วยบ้าง
32.เฉลย 2) การพูดโดยอาศัยต้นร่าง
33.เฉลย 1) ใครนะทำกับฉันได้ มีกริยาตัวเดียว
2) ประโยคความซ้อน ดูจากที่ “ที่” เป็นบทเชื่อม
3) ประโยคความรวม ดูจากสันธาน “หรือ”
4) ประโยคความรวม มีกริยา 2 ตัว คือ เป็น, เกรงใจ
34.เฉลย 4) มีคนเล่าให้ฉันฟังเมื่อวันก่อน ขึ้นต้นประโยคด้วย “มี”
1) ประโยคกรรม
2) และ 3) ประโยคประธาน
35.เฉลย 2) ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเซลเล็ก ไม่เป็นประโยค
เพราะไม่มีกริยา
1) วัวหายล้อมคอก
3) เรียนผูกต้องเรียนแก้
4) ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
36.เฉลย 3) สถานที่ติดต่อ
37.เฉลย 3) อัญพจน์
38.เฉลย 4) ค., ก., ข. และ ง. เรียงลำดับเนื้อความดังนี้
ค. ชีวิตของตนเป็นที่รักยิ่งฉันใด
ก. ชีวิตของผู้อื่นก็ปานกัน
ข. สัตบุรุษเอาตนเข้าไปเทียบดังนี้
ง. จึงกระทำความเมตตากรุณาในสัตว์มีชีวิตทั่วไป
39.เฉลย 1) เทศนาโวหาร
40.เฉลย 3) ให้ และ ทั้ง หรือ
41.เฉลย 4) เขาเรียนดีน้อยกว่าเรามาก
42.เฉลย 1) รับผิดเมื่อทำพลาดพลั้ง
43.เฉลย 2) ถุงเท้า เฒ่าธง ฐานทัพ มีพยัญชนะต้นเป็น
เสียงเดียวกัน (ถ ท ฒ ธ ฐ ท)
1) ซ่อนเร้น (ซ – ร)
3) ยากแท้ (ย – ท)
4) หวั่นหวาด (ว–ว) ท้อแท้ (ท–ท) ครื้นเครง (คร–คร)
ทั้ง 3 ตัว มีพยัญชนะต้นต่างกัน
44.เฉลย 3) มีรูปวรรณยุกต์ ถ้ารูปวรรณยุกต์เปลี่ยนแปลง เสียง
และความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย

45.เฉลย 4) อุปสรรคที่เราทั้งหลายไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ
เราทั้งหลายไม่คาดคิด เป็นประโยคย่อยขยายคำนาม
46.เฉลย 3) “ลูกอย่ามัวชักช้าน่า เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย” ชักช้าน่า
บอกน้ำเสียงเชิงรำคาญมากที่สุด
47.เฉลย 2) นิยาม
48.เฉลย 4) เทศนาโวหาร
49.เฉลย 4) 8 คำ ได้แก่ ความซื่อตรง หน้าที่ ตั้งใจ
ความอุตสาหะ ความมุ่งหมาย ความสำเร็จ
งดงาม หนทาง
50.เฉลย 1) จริยธรรม
51.เฉลย 4) ฝึกท่องจำจากตัวอย่าง
52.เฉลย 3) สมรรถนะ สมิทธิ อ่านตรงตามรูป
1) สมร (สะ – หมอน)
2) สยมภู (สะ – หยม – พู )
4) สมาน (สะ – หมาน) สมุทร (สะ – หมุด)
53.เฉลย 4) ปริตร อ่านว่า ปะ – หริด
1) ปรัมปรา อ่านว่า ปะ – รัม – ปะ – รา
2) ปราชัย อ่านว่า ปะ – รา – ไช
3) ปริญญา อ่านว่า ปะ – ริน – ยา
54.เฉลย 2) น้ำจืด เรือด่วน ปลาเค็ม คำเติมแสดงลักษณะ
ของคำต้น
1) นาเกลือ สวนหิน คำเติมแสดงแหล่งที่มี
3) บ้านรับรอง ไม้แขวนเสื้อ คำเติมแสดง
ลักษณะ
4) หมอความ ช่างเสื้อ คำเติมแสดงผู้ชำนาญ
ชาววัง คำเติมแสดงที่อยู่
55.เฉลย 1) นั่งเป็นที่ที่ไปนะ จะได้ไม่สับสน เป็นคำซ้ำ
2), 3) และ 4) คำว่า “ที่” เป็นคำต่างชนิดกันใช้
เป็นคำซ้ำไม่ได้
56.เฉลย 4) เจ้าอย่าย้ายคิ้วให้ เรียมเหงา
ดูดุจนายพรานเขา ล่อเนื้อ
เป็นพรรณนาโวหาร เพราะมีความหมายเชิง
เปรียบเทียบ
57.เฉลย 3) เทศนาโวหาร
58.เฉลย 1) ย้ำให้เกิดความเข้าใจ
59.เฉลย 4) การทำกรรมต่อผู้อื่นเป็นความผิดอย่างยิ่ง ไม่ว่า
จะเป็นกายกรรมหรือวจีกรรม
60.เฉลย 2) ปรามมิให้กระทำความชั่ว
61.เฉลย 3) ล้อมรั้วด้วยรัก ให้ประจักษ์ไออุ่น จึงจะเป็นทุน
เกื้อหนุนเด็กไทย
62.เฉลย 4) ไม่น่าเชื่อเลย เขาทำได้จริง ๆ สมกับที่รอคอย
ดีใจมาก ๆ
63.เฉลย 1) เท้า ข้าว (ท้าว – ข้าว)
2) ทอง – ออ น่อง – เอาะ
3) ท่อง – เอาะ น้อง – ออ
4) คลอง – ออ กล่อง – เอาะ
64.เฉลย 2) รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาระดับ
อนุบาลเพิ่มขึ้น ใช้ภาษาระดับทางการ
1) , 3) และ 4) ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ
65.เฉลย 2) น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต เป็นประโยค
ความซ้อน
1) เป็นประโยคความเดียว (มีกริยาตัวเดียว)
3) เป็นประโยคความรวม (เพราะ …ก็)
4) เป็นประโยคความรวม (ถ้า … ก็)
66.เฉลย 3) เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย เป็น
ประโยคความรวมเหตุผล
67.เฉลย 4) เครื่องครัวรุ่นใหม่ได้ออกวางจำหน่ายตั้งแต่สัปดาห์ก่อน
“เครื่องครัว” เป็นคำที่มีความหมายกว้าง
68.เฉลย 1) การอธิบายจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
69.เฉลย 2) ซึ่ง เพราะ หรือ ที่ เป็นคำเชื่อม
70.เฉลย 1) ภาษา
71.เฉลย 4) การเปรียบเทียบ
72.เฉลย 3) เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ใช้ภาษาสัญลักษณ์
กงจักร หมายถึง สิ่งที่ผิด
ดอกบัว หมายถึง สิ่งที่ดีงาม
73.เฉลย 1) การแต่งคำประพันธ์ให้ได้รสไพเราะ ต้องรู้จักสรรคำ
และต้องมีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา
74.เฉลย 4) งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย
งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล
แสดงถึงค่านิยมว่าหญิงไทย มีความงามตามทัศนะ
ของคนไทย คือ รูปสวย มารยาทดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
พูดเพราะ
75.เฉลย 2) เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
ครุฑยุดนาค หมายถึง เรื่องรามเกียรติ์ เป็นนาฏกรรม
ร้องโห่เห่โอ้เห่มา หมายถึง สังคีตศิลป์
76.เฉลย 3) คุณธรรมสร้างยากกว่าวัตถุธรรม
77.เฉลย 2) 5 คำ ได้แก่ กว้าง สร้าง เสร็จ สรรพ์ กว้าง
78.เฉลย 3) การนับคำนวณจะใช้ วัน เดือน ปี ตามระบบ
สุริยคติเท่านั้น
79.เฉลย 1) ความรู้
80.เฉลย 2) ทางการ
81.เฉลย 3) ประชด
82.เฉลย 4) ข้อคิดเห็น
83.เฉลย 3) รำคาญใจ
84.เฉลย 4) มากหมอก็มากความ = มากคนก็มากเรื่อง
1) กินแกงร้อน = ไม่เตรียมการล่วงหน้า ต้องทำ
ใกล้ ๆ เวลา

2) หัวหมอ = อวดรู้ เท่าทันคน
3) ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
85.เฉลย 1) ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ
86.เฉลย 3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ต้องได้รับ
การแก้ไขทันที
87.เฉลย 4) ความบากบั่น
88.เฉลย 3) อภิปรายโวหาร
89.เฉลย 1) ทางการ
90.เฉลย 1) บทปลุกใจ
91.เฉลย 2) บาทที่ 1 , 2 เป็นส่วนเหตุผล – เติม “เพราะ” ไว้
หน้าประโยคได้
บาทที่ 3 , 4 เป็นส่วนสรุป – “จึง”
92.เฉลย 4) มี 11 พยางค์ ได้แก่ ลูก ระ ฝึก ลูก
ทุกข์ ลูก หยัด จวบ ปัด หยาด ลูก
93.เฉลย 3) มี 4 พยางค์ ได้แก่ หยัด หยาด เหงื่อ หล่อ
94.เฉลย 4) ข้อความจรรโลงใจ
95.เฉลย 2) พลอยฟ้าพลอยฝน
1) พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก = ความทุกข์ยาก
ลำบากที่เกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน
3) พลัดที่นาคาที่อยู่ = พลัดพรากจากถิ่นฐาน
เดิม , ระหกระเหิน
4) พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ = พูดหรือทำ
อะไรโดยไม่ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย
96.เฉลย 3) เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ = อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ
1) เล่นตา = ชายตาดูฉันชู้สาว
2) เล่นหูเล่นตา = ชายตาดูฉันชู้สาว
4) เล่นเพลงยาว = ลอบมีจดหมายรักต่อกัน
ข้อ 1 , 2 , 4 มีความหมายในเชิงชู้สาว
97.เฉลย 1) เท่าที่ผ่านมาคุณไม่เคยเสนออะไรที่ผิดพลาด ฉันจึง
ยอมทำตามข้อเสนอของคุณทุกประการ
98.เฉลย 4) ฉันท์ (วสันตดิลกฉันท์)
“แลสูงก็แสงศศิสว่าง พิศพ่างพิมานแมน
แลโลกก็ล้วนสมุทรแดน ขจิจดอุไรชล
แสงโสมสมานสลิลแนบ วิจิแวบวะวับวน
พร่างพรายประกายอุทกผล ดุจเยื่อลำยองทอง”
99.เฉลย 1) เสาวรจนีย์ - บทชมธรรมชาติ
2) นารีปราโมทย์ - บทเกี้ยวพาราศี
3) พิโรธวาทัง - บทโกรธ
4) สัลลาปังคพิสัย - บทสะเทือนใจ
100.เฉลย 2) กาพย์ฉบัง
“ช้าก่อน! หล่อนจะไปไหน หม่อมฉันอยู่ไป
ก็เครื่องแต่ทรงรำคาญ
ใครหนอบอกแก่นงคราญ ว่าพี่รำคาญ
หม่อมฉันสังเกตเองเห็น”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น