...

เคมี วิทยา

สารชีวโมเลกุล



ลิปิด (Lipid)
                ลิปิดเป็นสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ  สกัดออกจากเซลล์โดยใช้ตัวทำละลายไม่มีขั้วเช่น  คลอโรฟอร์ม, อีเทอร์ เป็นต้น  สารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มลิปิด  มีหลายชนิดเช่น triacylglycerols, terpenes และ terpenoids, steroids, prostaglandins, phospholipids, waxes เป็นต้น
15.1.1    triglycerides (triacylglycerols)



                ลิปิดที่จัดอยู่ในกลุ่ม triglyceride ได้แก่ ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) ที่ได้จากพืชและสัตว์  โครงสร้างของ triglyceride ประกอบด้วยส่วนที่มาจากกรดไขมัน (fatty acid)  กับ กลีเซอรอล (glycerol)

                triacylglycerols ที่มีหมู่ acyl เหมือนกันเรียกว่า simple triacylglycerols  แต่ถ้ามีหมู่ acyl ต่างกันจะเรียกว่า mixed triacylglycerols  ถ้านำไขมันหรือน้ำมันมาไฮโดรไลซ์ (hydrolyse) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นกลีเซอรอลกับกรดไขมัน  ตามสมการ



                กรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบใน fat และ oil มักมีโครงสร้างหมู่แอลคิลเป็นโซ่ตรง  และจำนวนอะตอมคาร์บอนในโมเลกุลเป็นเลขคู่  ถ้ามีพันธะคู่ในโมเลกุลก็มักเป็นแบบ cis ซึ่งอาจมีพันธะคู่หลายพันธะได้  แต่ไม่พบพันธะคู่แบบ conjugated

ไขมันคือ triglycerides ที่ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว มีจุดหลอมเหลวสูง มักเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง  ส่วนน้ำมันคือ triglycerides ที่ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งทำให้มีจุดหลอมเหลวต่ำและเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง  น้ำมันที่มีความไม่อิ่มตัวสูงสามารถเกิด autoxidation ได้ทำให้เหม็นหืน (rancid)




                        15.1.1.1  ปฏิกิริยา hydrogenation ของไขมันและน้ำมัน

                ปฏิกิริยานี้เป็นการเติมไฮโดรเจนเข้าที่พันธะคู่ของ triglyceride ซึ่งจะทำให้สมบัติของ triglyceride เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ไขมันที่ได้จากการทำ hydrogenation เพียงบางส่วนของน้ำมันพืช เรียกว่า partially hydrogenated fat  มักใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อให้ได้ไขมันที่มีสมบัติตามต้องการ

                        15.1.1.2  ปฏิกิริยา hydrolysis



                การไฮโดรไลซ์ triglyceride ในสภาวะเบส  จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นกลีเซอรอลกับสบู่  ซึ่งก็คือเกลือของกรดคาร์บอกซิลิกโซ่ยาวหรือกรดไขมันนั่นเอง  สบู่ที่เป็นเกลือโซเดียมจะละลายน้ำได้ดี  ส่วนเกลือแคลเซียมและเกลือแมกนีเซียมไม่ละลายน้ำ  ทำให้สบู่มักตกตะกอนเป็นคราบเมื่อใช้กับน้ำกระด้าง
                ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกับสบู่อีกชนิดหนึ่งคือ  ผงซักฟอก (detergent) ซึ่งจะเป็นเกลือของกรดซัลฟุริกหรือซัลโฟนิกโซ่ยาว  มีสูตรโครงสร้างดังนี้
                                CH3(CH2)n(CH2)SO2O-Na+                 n = 8,10                 Sodium alkane sulfonate
                                CH3(CH2)nCH2OSO2O-Na+                                                                Sodium alkyl sulfate                                                                                  
                                               
                ผงซักฟอกใช้ได้ดีแม้ในน้ำกระด้างซึ่งมักมีแคลเซียมหรือแมกนีเซียมอยู่มาก เพราะเกลือแคลเซียมและเกลือแมกเนเซียมของผงซักฟอกละลายน้ำได้

                       

15.1.2    Terpenes และ Terpenoids
                สารประกอบกลุ่มนี้พบมากในน้ำมัน essential oil ที่ได้จากพืช  ซึ่งมักมีสมบัติทางยา  หรือมีกลิ่นหอม  สารประกอบ terpenes จะมีแต่ธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น   ส่วน terpenoids จะมีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย  โครงสร้างของ terpene  จะประกอบด้วยหน่วย isoprene ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอมและมักจะเชื่อมต่อกันแบบ head-to-tail



1 ความคิดเห็น:

  1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates)
    คาร์โบไฮเดรตในภาษาอังกฤษมีความหมายมาจาก hydrates of carbon ซึ่งก็คือสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและโมเลกุลน้ำ (H2O) ซึ่งมีสูตรทั่วไปเป็น Cx(H2O)y เป็นสารประกอบประเภท polyhydroxy aldehyde หรือ polyhydroxyketone หรือสารประกอบที่เมื่อถูกไฮโดรไลซ์แล้วได้ polyhydroxyaldehyde หรือ ketone น้ำตาลหรือ saccharides จัดเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตอย่างง่าย ซึ่งชื่อของน้ำตาลมักลงท้ายด้วย -ose เช่น sucrose, maltose, glucose เป็นต้น
    saccharides สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
    ก. Monosaccharides เช่น glucose , fructose จัดเป็นหน่วยย่อยที่สุดของคาร์โบไฮเดรต monosaccharides ทุกชนิดเป็น reducing sugar
    ข. Disaccharides ซึ่งอาจเป็น reducing หรือ non-reducing disaccharides ก็ได้ เช่น maltose เป็น reducing disaccharides ส่วน sucrose เป็น non-reducing disaccharides เป็นต้น
    ค. Polysaccharides เช่น แป้ง, เซลลูโลส สารประกอบประเภทนี้ไม่จัดเป็นน้ำตาลและเป็น non-reducing saccharides

    15.2.1 monosaccharides
    น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือ monosaccharide สามารถแบ่งประเภทตามหมู่ฟังก์ชันได้เป็น 2 ประเภทคือ aldose ซึ่งเป็นสารประกอบ polyhydroxyaldehyde กับ ketose ซึ่งเป็นสารประกอบ polyhydroxyketone นอกจากนี้ยังอาจจำแนกตามจำนวนคาร์บอนในโมเลกุลได้อีกด้วยดังนี้

    จำนวนคาร์บอน
    aldehyde
    ketone
    6
    aldohexose
    ketohexose
    5
    aldopentose
    ketopentose
    4
    aldotetrose
    ketotetrose
    3
    aldotriose
    ketotriose

    Epimer คือ monosaccharide aldose ที่มี configuration ต่างกันเฉพาะที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 เช่น D-(+)-glucose เป็น epimer ของ D-(+)-mannose , D-(-)-ribose เป็น epimer ของ D-(-)-arabinose เป็นต้น
    optical isomer ที่เป็นไปได้สำหรับ monosaccharide แต่ละตัวมีจำนวน = 2n โดย n คือจำนวน chiral center ที่มีอยู่ในโมเลกุล ดังนั้น glucose มี optical isomer จำนวน = 24 = 16 ไอโซเมอร์ ส่วน fructose มี optical isomer จำนวน = 23 = 8 ไอโซเมอร์ เป็นต้น
    monosaccharide ส่วนใหญ่มีรสหวาน โดยที่ fructose มีความหวานมากที่สุด ละลายน้ำได้ดี มีสมบัติรีดิวซ์ สามารถรีดิวซ์สารประกอบเชิงซ้อน Cu(II) เป็น Cu2O (ตะกอนสีแดงอิฐ) monosaccharide สามารถเกิดโอซาโซน (osazone) ซึ่งสามารถใช้ในการวินิจฉัยชนิดของ saccharide ได้ นอกจากนี้ก็ยังเกิดปฏิกิริยาเคมีอื่น ๆ แบบเดียวกับ aldehyde , ketone และ alcohol ทั่วไปได้

    ตอบลบ